แมกเนติกคอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor)

แมกเนติกคอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) คือ อุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานโดยอำนาจแม่เหล็กในการเปิดปิดหน้าสัมผัสในการควบคุมวงจรมอเตอร์ อาจเรียกว่าสวิตช์แม่เหล็ก (Magnetic Switch) หรือคอนแทคเตอร์ (Contactor) ก็ได้

ข้อดี ของการใช้รีเลย์และแมกเนติกคอนแทคเตอร์เมื่อเทียบกับสวิตช์อื่น
1.ให้ความปลอดภัยสำหรับผู้ควบคุมสูง
2.ให้ความสะดวกในการควบคุม
3.ประหยัดเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ


แมกเนติกคอนแทคเตอร์ยี่ห้อใดรุ่นใดจะต้องมีโครงสร้างหลักที่สำคัญเหมือนกันดังนี้

1. แกนเหล็ก แกนเหล็กแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 
     1.) แกนเหล็กอยู่กับที่ (Fixed Core) จะมีลักษณะขาทั้งสองข้างของแกนเหล็ก มีลวดทองแดงเส้นใหญ่ต่อลัดอยู่ เป็นรูปวงแหวนฝังอยู่ที่ผิวหน้าของแกนเพื่อลดการสั่นสะเทือน ของแกนเหล็ก อันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนของไฟฟ้ากระแสสลับ เรียกวงแหวนนี้ว่า เช็ดเด็ดริ่ง (Shaddedring)
     2.) แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Stationary Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกันเป็นแกน จะมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) ยึดติดอยู่





1.1 (Fixed Core)
1.2 (Stationary Core)


   

     







2. (Coil)


2. ขดลวด (Coil)
ขดลวดทำมาจากลวดทองแดงพันอยู่รอบอ๊บบิ้นสวมอยู่ตรงกลาง ของขาตัวอีที่อยู่กับที่ขดลวดทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กมีขั้วต่อไฟเข้า ใช้สัญลักษณ์อักษรกำกับ คือ A1- A2 หรือ a-b

    

 
3. หน้าสัมผัส (Contact)
3. (Contact)
หน้าสัมผัสจะยึดติดอยู่กับแกนเหล็กเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
   - หน้าสัมผัสหลัก หรือเรียกว่าเมนคอนแทค (Main Contac) ใช้ในวงจรกำลังทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้าเข้าสู่โหลด
   - หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contac) ใช้กับวงจรควบคุมหน้าสัมผัสช่วยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
    หน้าสัมผัสปติเปิด (Normally Open : N.O.)
    หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : N.C.)

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่อยู่ขากลางของแกนเหล็ก ขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แรงสนามแม่เหล็กชนะแรงสปริงดึงให้แกนเหล็กชุดที่เคลื่อนที่ เคลื่อนที่ลงมาในสภาวะนี้(ON)คอนแทคทั้งสองชุดจะเปลี่ยนสภาวะการทำงานคือคอนแทคปกติปิด จะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก และคอนแทคปกติเปิดจะต่อวงจรของจุดสัมผัส เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งสองชุดจะกลับไปสู่สภาวะเดิม

ชนิดและขนาดของแมกเนติกคอนแทคเตอร์
คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลด
และการนำไปใช้งานมีดังนี้
    AC 1 : เป็นแมกเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มีอินดัดทีฟน้อยๆ
    AC 2 : เป็นแมกเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับโหลหดที่เป็นสปริงมอเตอร์
    AC 3 : เป็นแมกเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหลดที่เป็นมอเตอร์กรงกระรอก

    AC 4 : เป็นแมกเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับการสตาร์ท-หยุดมอเตอร์ วงจร jogging และการกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก
การพิจารณาเลือกไปใช้งาน ในการเลือกแมกเนติกคอนแทคเตอร์ในการใช้งานให้เหมาะสมกับมอเตอร์นั้น จะพิจารณาที่กระแสสูงสุดในการใช้งาน (reated current) และแรงดัน ของมอเตอร์ จำเป็นต้องเลือกแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ที่มีกระแสสูงกว่ากระแสที่ใช้งานของมอเตอร์ ที่มีแรงดันเท่ากัน
ในการพิจารณาเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ใช้งานควรพิจารณาดังนี้
    - ลักษณะของโหลดและการใช้งาน
    - แรงดันและความถี่
    - สถานที่ใช้งาน
    - ความบ่อยครั้งในการใช้งาน
    - การป้องกันจากการสัมผัสและการป้องกันนํ้า

    - ความคงทนทางกลและทางไฟฟ้า


Mitsubishi S-N10 Magnetic Contactor
(ขอบคุณ http://edu.e-tech.ac.th/ , www.a-recyclegroup.com)